วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 3


วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2553



1.วันนี้อาจารย์ให้ออกไปนำเสนอโครงการลดภาวะโลกร้อน

กลุ่มที่1 นำเสอนโครงการการประดิษฐ์กระถางต้นไม้สุดประหยัดจากขวดพลาสติก
กลุ่มที่2 นำเสนอโครงการแม่ลูกระบายสีถุงผ้าช่วยลดภาวะโลกร้อน

กลุ่มที่3 นำเสนอโครงการลดภาวะโลกร้อนของเด็กปฐมวัย
กลุ่มที่4 นำเสนอโครงการถังขยะอัจฉริยะ
กลุ่มที่5 นำเสนอโครงการประดิษฐ์ตระกร้าจากกล่องนม
2. อาจารย์ให้ปรับปรุงแก้ไขใหม่นำเสนอสัปดาห์ครั้งที่ 2
- การนำเสนอโครงการ
- สื่อการนำเสนอ
- กิจกรรมให้สอดคล้องกับโครงการ
3. อาจารย์ส่งงานให้ให้ทำงานศิลปะที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยส่งสัปดาห์หน้า

วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 2

วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553


อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอ กิจกรรมที่จัดให้สำหรับเด็กในเรื่อง.....การลดภาวะโลกร้อน สำหรับเด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 3-5 ปี

กลุ่มที่ 1 ให้เด็กนำถุงเปล่ามาตกแต่งให้สวยงาม ไว้ใช้สิ่งของต่างๆเช่น หมอน ดินสอ แปรงสีฟัน แก้วน้ำ ใช้แทนถุงพลาสติก


กลุ่มที่ 2 ให้เด็กนำขวดน้ำที่จะทิ้งมาตกแต่งเป็นกระถางดอกไม้ ให้เด็กปลูกต้นไม้คนละต้น


กลุ่มที่ 3 ให้เด็กเก็บขยะบริเวณโรงเรียน แล้วนำมาแยกขยะแต่ละประเภท



กลุ่มที่ 4 ให้เด็กนำถุงขนมมาประดิษฐ์เป็นชุดกระโปรง โดยผู้ปกครองคอยช่วย เพื่อทำให้เด็กได้รู้คุณค่าของขยะ


กลุ่มที่ 5 ให้เด็กเรียงรูปภาพการตัดต้นไม้ทำลายป่าปลูกป่า



อาจารย์ได้ให้ไปเขียนโครงการเพื่อทำกิจกรรมให้เด็กได้ตระหนักถึงเรื่องภาวะลดโลกร้อน

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

30 มิ.ย.53 ครั้งที่ 1

อาจารย์ได้สร้างข้อตกลงกับนักศึกษา


1.ให้นักศึกษาสร้างบล็อคเก็บผลงาน
2.ทุกครั้งเขียนบล็อคให้เขียนครั้งที่ด้วย(ถ้าวันไหนขาดเรียนให้เขียนว่าขาดครั้งที่...)
3.เรื่องการแต่งกายนักศึกษา


เด็กปฐมวัย Vs การเรียนรู้วิทยาศาสตร์

1.วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆ จริงหรือ?
-ไม่ พัฒนาการเด็กชอบเรียนรู้ ท้าท้าย ชอบจินตนาการ


2.ถ้าเด็กๆเรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่อนุบาลจะยากเกินไปไหม?
-ไม่ยากเกินไป เพราะเป้นเรื่องในชีวิตประจำวัน อยู่รอบตัวคนเรา เป็นเรื่องใกล้ตัว


3.ควรจะให้เด็กๆอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร
-เปิดโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขา โดยการให้ความสน ให้การสนใจในการค้นพบแบบเด็กๆจัดประสบการณ์เรียนรู้


วิทยาศาสตร์
คือความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง
ความพยายามติดตัวของมนุษย์มาตั้งแต่เด็ก สะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น
ช่างสังเกตและคอยซักถาม ที่พวกเขาเจอบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินจะให้คำตอบ การทำความเข้าใจกับสิ่งแวดรอบตัว ได้คิดเป็นการเตรียมเด็กให้เรียนรู้ได้มากในวัยที่สูงขึ้น
ถ้าผู้ใหญ่ไม่ให้ความเข้าใจในธรรมชาติของเด็ก
1.ปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถาม
2.ไม่ให้ความสนใจกับการค้นพบอแบบเด็กๆ
3.ไม่จัดประสบการณ์ทางการเรียนรู้ที่จะส่งเสริม
ทบทวนบทบาท
1.เปิดโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขา โดยให้ความสนใจกับคำถาม
2.ให้ความสนใจในการค้นพบแบบเด็กๆ
3.จัดประสบการณ์เรียนรู้ที่จะส่งเสริม
4.ครูและผู้ปกครองต้องยอมรับในเรื่องจินตนาการที่สูงในเด็กวัยนี้
5.ครูต้องแม่นยำในการพัฒนาเด็ก เพื่อที่จะการเรีบยนรู้ได้อย่างสอดคล้องกับความสามารถของเด็ก




สรุปเนื้อหาที่เรียน
วิทยาศาสตร์ คืดความพยายามที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตัวเอง ทำให้เราได้เห็นจากการพัฒนาการของเด็กที่เรียนรู้โดยการอยากเห็น ช่างสังเกต ซักถาม อยากลงมือปฏิบัติ ถ้าเราปิดโอกาสทางการเรียนรู้ไม่ความสนใจกับคำถาม ไม่ให้ความสนใจกับการค้นพบของเด็กและไม่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริม เด็กก็ไม่อยากเรียนรู้ ไม่อยากเข้าใจทำให้เด็กมีพัฒนาการของเด็กผิดปกติ