วันนี้เป็นวันสอบปลายภาค
-มีการทำการสอบ
-ประเมินอาจารย์
วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553
ครั้งที่ 15 วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553
ครั้งที่ 12 วันที่8 กันยายน พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553
บันทึกครั้งที่5
วันที่
ภาวะโลกร้อน ภาวะโลกร้อนคืออะไร อะไรคือสาเหตุของการภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน หมายถึง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ที่ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น เราจึงเรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global Warming) กิจกรรมของมนุษย์ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน คือ กิจกรรมที่ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ การเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยตรง เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง และ การเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยทางอ้อม คือ การตัดไม้ทำลายป่าปรากฏการณ์เรือนกระจก หมายถึง การที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำตัวเสมือนกระจกที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุลงมายังผิวพื้นโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวที่โลกคายออกไปไม่ให้หลุดออกนอกบรรยากาศ ทำให้โลกไม่เย็นจัดในเวลากลางคืน บรรยากาศเปรียบเสมือนผ้าห่มผืนใหญ่ที่คลุมโลกไว้ ก๊าซที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุลงมาได้แต่ไม่ยอมให้รังสีคลื่นยาวที่โลกคายออกไปหลุดออกนอกบรรยากาศ เรียกว่า ก๊าซเรือนกระจก
ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญๆ มีอะไรบ้าง แต่ละชนิดมีที่มาอย่างไร ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทนและก๊าซไนตรัสออกไซด์
1. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดจาก การเผาไหม้เชื้อเพลิง โรงงานอุตสาหกรรม และการตัดไม้ทำลายป่า
2. ก๊าซมีเทน เกิดจาก การย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ที่มีน้ำขัง เช่น นาข้าว
3. ก๊าซไนตรัสออกไซด์ เกิดจาก อุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในกระบวนการผลิต และการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในการเกษตรกรรม
รู้ได้อย่างไรว่าโลกร้อนขึ้น และในอนาคตอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะสูงขึ้นกี่องศาเซลเซียส จากการเฝ้าติดตามความผันแปรของอุณหภูมิโลก พบว่า ในระยะ 10 ปี สุดท้าย พ.ศ. 2539 – 2548 เป็นช่วงที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกร้อนที่สุด หากไม่มีมาตรการใดๆ ที่จะยับยั้งการปล่อยออกก๊าซเรือนกระจกแล้ว คาดว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มสูงขึ้น 1.5-4.5 องศาเซลเซียส ภายในปี ค.ศ. 2100
ภาวะโลกร้อนส่งผลต่อประเทศไทยอย่างไร จากความผันแปรของภูมิอากาศมีผลต่อลักษณะอากาศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยก็มีสัญญาณที่บ่งบอกถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น นั่นคือ ความรุนแรงของภัยธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้พบว่า อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วประเทศในเดือนพฤศจิกายน 2549 ซึ่งอยู่ในช่วงต้นฤดูหนาวสูงกว่าปกติ 1.7 องศาเซลเซียส สูงสุดเป็นอันดับ 1 ในรอบ 56 ปี ของประเทศ และในเดือนธันวาคม 2549 อุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่าค่าปกติประมาณ 1 องศาเซลเซียส (อุณหภูมิเฉลี่ย 24 องศาเซลเซียส) ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีสภาพอากาศเป็นอย่างไร จากการศึกษาข้อมูล 54 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2494 ซึ่งเป็นปีแรกที่เริ่มมีการตรวจวัดข้อมูล พบว่า อุณหภูมิของประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งอุณหภูมิเฉลี่ย (รูปที่ 1) อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย(รูปที่ 2) และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย(รูปที่ 3) ส่วนปริมาณฝนและวันที่ฝนตกมีแนวโน้มลดลง (รูปที่ 4 และ5) ถึงแม้ว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาทั้งปริมาณฝนและจำนวนวันฝนตกอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าค่าปกติ มากกว่าที่จะต่ำกว่าปกติก็ตามในปี 2550 นี้
โลกและประเทศไทย มีสภาพอากาศเป็นอย่างไร การเพิ่มขึ้นของก๊าชเรือนกระจกทำให้บรรยากาศโลกกักเก็บพลังงานความร้อนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความสมดุลของพลังงานโลกเปลี่ยนแปลงไป อุณหภูมิเฉลี่ยของบรรยากาศบริเวณผิวโลกสูงขึ้น คลื่นความร้อนเกิดบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องนานัปการ เช่น ฤดูกาล ปริมาณและการกระจายของน้ำฝนเปลี่ยนแปลงไป ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เนื่องจากน้ำแข็งขั้วโลกละลาย น้ำทะเลขยายตัว เนื่องจากอุณหภูมิสูงขึ้น เกิดพายุและภัยพิบัติรุนแรงและถี่ขึ้น ในปี 2550 สภาพอากาศทั่วไปของโลก มีการคาดการณ์ไว้ว่าอุณหภูมิจะสูงขึ้นทำให้มีอากาศร้อนจัดอีกปีหนึ่งสำหรับประเทศไทยในปี 2550 คาดว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยจะมีปริมาณฝนสูงกว่าค่าปกติ โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝน และฤดูฝนจะมาเร็วกว่าปกติ และในช่วงฤดูร้อนจะมีอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่ ส่วนอุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศจะสูงกว่าค่าปกติโดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปี หากไม่มีการช่วยกันแก้ไขปัญหาโลกร้อนในวันนี้
ในอนาคตจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร
1. ทำให้ฤดูกาลของฝนเปลี่ยนแปลงไป กระบวนการระเหยและการกลั่นตัวจะเร็วขึ้น หมายถึงว่า ฝนอาจจะตกบ่อยขึ้น แต่น้ำจะระเหยเร็วขึ้นด้วย ทำให้ดินแห้งเร็วกว่าปกติในช่วงฤดูกาลเพาะปลูก
2. ผลผลิตทางการเกษตรจะลดลง นอกจากผลกระทบโดยตรงจากอุณหภูมิ ฝน ช่วงระยะเวลาฤดูกาลเพาะปลูกแล้ว ยังเกิดจากผลกระทบทางอ้อมอีกด้วย คือ การระบาดของโรคพืช ศัตรูพืชและวัชพืช
3. สัตว์น้ำจะอพยพไปตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำทะเล แหล่งประมงที่สำคัญๆของโลกจะเปลี่ยนแปลงไป
4. มนุษย์จะเสียชีวิตเนื่องจากความร้อนมากขึ้น ตัวนำเชื้อโรคในเขตร้อนเพิ่มมากขึ้น ปัญหาภาวะมลพิษทางอากาศภายในเมืองจะรุนแรงมากขึ้น
คนไทยสามารถช่วยกันแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร เพื่อไม่ให้ประชากรโลกรวมทั้งประเทศไทยได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ จึงควรให้ความร่วมมือในการรักษาสมดุลทางธรรมชาติให้คงอยู่ตราบนานเท่านาน ตามมาตรการดังต่อไปนี้
1. ร่วมกันใช้ก๊าซธรรมชาติแทนถ่านหินและน้ำมันในกระบวนการผลิตและการขนส่งต่างๆ เพื่อลดปริมาณการปล่อยออกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยลง
2. ใช้พลังงานทดแทน เช่น จากแสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล
3. รักษาป่าที่มีอยู่ให้คงอยู่ต่อไป ฟื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรม ปลูกป่าเพิ่มเติม
4. ศึกษาและปรับปรุงวิธีการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับชนิดของพืช
5. ใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมและครัวเรือน
6. เพิ่มประสิทธิภาพในด้านการคมนาคม ซึ่งอาจทำได้โดยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ทดแทนเชื้อเพลิง
ปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ เป็นต้น
ข้อมูลจาก : กลุ่มวิชาการภูมิอากาศ สำนักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยาhttp://www.tmd.go.th/NCCT/index.php
ShareThis
ShareThis
วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
บันทึกครั้งที่ 3
วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2553
1.วันนี้อาจารย์ให้ออกไปนำเสนอโครงการลดภาวะโลกร้อน
กลุ่มที่1 นำเสอนโครงการการประดิษฐ์กระถางต้นไม้สุดประหยัดจากขวดพลาสติก
กลุ่มที่2 นำเสนอโครงการแม่ลูกระบายสีถุงผ้าช่วยลดภาวะโลกร้อน
กลุ่มที่2 นำเสนอโครงการแม่ลูกระบายสีถุงผ้าช่วยลดภาวะโลกร้อน
กลุ่มที่3 นำเสนอโครงการลดภาวะโลกร้อนของเด็กปฐมวัย
กลุ่มที่4 นำเสนอโครงการถังขยะอัจฉริยะ
กลุ่มที่5 นำเสนอโครงการประดิษฐ์ตระกร้าจากกล่องนม
2. อาจารย์ให้ปรับปรุงแก้ไขใหม่นำเสนอสัปดาห์ครั้งที่ 2
- การนำเสนอโครงการ
- สื่อการนำเสนอ
- กิจกรรมให้สอดคล้องกับโครงการ
3. อาจารย์ส่งงานให้ให้ทำงานศิลปะที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยส่งสัปดาห์หน้า
กลุ่มที่4 นำเสนอโครงการถังขยะอัจฉริยะ
กลุ่มที่5 นำเสนอโครงการประดิษฐ์ตระกร้าจากกล่องนม
2. อาจารย์ให้ปรับปรุงแก้ไขใหม่นำเสนอสัปดาห์ครั้งที่ 2
- การนำเสนอโครงการ
- สื่อการนำเสนอ
- กิจกรรมให้สอดคล้องกับโครงการ
3. อาจารย์ส่งงานให้ให้ทำงานศิลปะที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยส่งสัปดาห์หน้า
วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
บันทึกครั้งที่ 2
วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอ กิจกรรมที่จัดให้สำหรับเด็กในเรื่อง.....การลดภาวะโลกร้อน สำหรับเด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 3-5 ปี
กลุ่มที่ 1 ให้เด็กนำถุงเปล่ามาตกแต่งให้สวยงาม ไว้ใช้สิ่งของต่างๆเช่น หมอน ดินสอ แปรงสีฟัน แก้วน้ำ ใช้แทนถุงพลาสติก
กลุ่มที่ 2 ให้เด็กนำขวดน้ำที่จะทิ้งมาตกแต่งเป็นกระถางดอกไม้ ให้เด็กปลูกต้นไม้คนละต้น
กลุ่มที่ 3 ให้เด็กเก็บขยะบริเวณโรงเรียน แล้วนำมาแยกขยะแต่ละประเภท
กลุ่มที่ 4 ให้เด็กนำถุงขนมมาประดิษฐ์เป็นชุดกระโปรง โดยผู้ปกครองคอยช่วย เพื่อทำให้เด็กได้รู้คุณค่าของขยะ
กลุ่มที่ 5 ให้เด็กเรียงรูปภาพการตัดต้นไม้ทำลายป่าปลูกป่า
อาจารย์ได้ให้ไปเขียนโครงการเพื่อทำกิจกรรมให้เด็กได้ตระหนักถึงเรื่องภาวะลดโลกร้อน
อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอ กิจกรรมที่จัดให้สำหรับเด็กในเรื่อง.....การลดภาวะโลกร้อน สำหรับเด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 3-5 ปี
กลุ่มที่ 1 ให้เด็กนำถุงเปล่ามาตกแต่งให้สวยงาม ไว้ใช้สิ่งของต่างๆเช่น หมอน ดินสอ แปรงสีฟัน แก้วน้ำ ใช้แทนถุงพลาสติก
กลุ่มที่ 2 ให้เด็กนำขวดน้ำที่จะทิ้งมาตกแต่งเป็นกระถางดอกไม้ ให้เด็กปลูกต้นไม้คนละต้น
กลุ่มที่ 3 ให้เด็กเก็บขยะบริเวณโรงเรียน แล้วนำมาแยกขยะแต่ละประเภท
กลุ่มที่ 4 ให้เด็กนำถุงขนมมาประดิษฐ์เป็นชุดกระโปรง โดยผู้ปกครองคอยช่วย เพื่อทำให้เด็กได้รู้คุณค่าของขยะ
กลุ่มที่ 5 ให้เด็กเรียงรูปภาพการตัดต้นไม้ทำลายป่าปลูกป่า
อาจารย์ได้ให้ไปเขียนโครงการเพื่อทำกิจกรรมให้เด็กได้ตระหนักถึงเรื่องภาวะลดโลกร้อน
วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
30 มิ.ย.53 ครั้งที่ 1
อาจารย์ได้สร้างข้อตกลงกับนักศึกษา
1.ให้นักศึกษาสร้างบล็อคเก็บผลงาน
2.ทุกครั้งเขียนบล็อคให้เขียนครั้งที่ด้วย(ถ้าวันไหนขาดเรียนให้เขียนว่าขาดครั้งที่...)
3.เรื่องการแต่งกายนักศึกษา
เด็กปฐมวัย Vs การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
1.วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆ จริงหรือ?
-ไม่ พัฒนาการเด็กชอบเรียนรู้ ท้าท้าย ชอบจินตนาการ
2.ถ้าเด็กๆเรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่อนุบาลจะยากเกินไปไหม?
-ไม่ยากเกินไป เพราะเป้นเรื่องในชีวิตประจำวัน อยู่รอบตัวคนเรา เป็นเรื่องใกล้ตัว
3.ควรจะให้เด็กๆอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร
-เปิดโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขา โดยการให้ความสน ให้การสนใจในการค้นพบแบบเด็กๆจัดประสบการณ์เรียนรู้
วิทยาศาสตร์ คืดความพยายามที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตัวเอง ทำให้เราได้เห็นจากการพัฒนาการของเด็กที่เรียนรู้โดยการอยากเห็น ช่างสังเกต ซักถาม อยากลงมือปฏิบัติ ถ้าเราปิดโอกาสทางการเรียนรู้ไม่ความสนใจกับคำถาม ไม่ให้ความสนใจกับการค้นพบของเด็กและไม่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริม เด็กก็ไม่อยากเรียนรู้ ไม่อยากเข้าใจทำให้เด็กมีพัฒนาการของเด็กผิดปกติ
1.ให้นักศึกษาสร้างบล็อคเก็บผลงาน
2.ทุกครั้งเขียนบล็อคให้เขียนครั้งที่ด้วย(ถ้าวันไหนขาดเรียนให้เขียนว่าขาดครั้งที่...)
3.เรื่องการแต่งกายนักศึกษา
เด็กปฐมวัย Vs การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
1.วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆ จริงหรือ?
-ไม่ พัฒนาการเด็กชอบเรียนรู้ ท้าท้าย ชอบจินตนาการ
2.ถ้าเด็กๆเรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่อนุบาลจะยากเกินไปไหม?
-ไม่ยากเกินไป เพราะเป้นเรื่องในชีวิตประจำวัน อยู่รอบตัวคนเรา เป็นเรื่องใกล้ตัว
3.ควรจะให้เด็กๆอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร
-เปิดโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขา โดยการให้ความสน ให้การสนใจในการค้นพบแบบเด็กๆจัดประสบการณ์เรียนรู้
วิทยาศาสตร์
คือความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง
ความพยายามติดตัวของมนุษย์มาตั้งแต่เด็ก สะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น
ช่างสังเกตและคอยซักถาม ที่พวกเขาเจอบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินจะให้คำตอบ การทำความเข้าใจกับสิ่งแวดรอบตัว ได้คิดเป็นการเตรียมเด็กให้เรียนรู้ได้มากในวัยที่สูงขึ้น
ถ้าผู้ใหญ่ไม่ให้ความเข้าใจในธรรมชาติของเด็ก
1.ปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถาม
2.ไม่ให้ความสนใจกับการค้นพบอแบบเด็กๆ
3.ไม่จัดประสบการณ์ทางการเรียนรู้ที่จะส่งเสริม
ทบทวนบทบาท
1.เปิดโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขา โดยให้ความสนใจกับคำถาม
2.ให้ความสนใจในการค้นพบแบบเด็กๆ
3.จัดประสบการณ์เรียนรู้ที่จะส่งเสริม
4.ครูและผู้ปกครองต้องยอมรับในเรื่องจินตนาการที่สูงในเด็กวัยนี้
5.ครูต้องแม่นยำในการพัฒนาเด็ก เพื่อที่จะการเรีบยนรู้ได้อย่างสอดคล้องกับความสามารถของเด็ก
สรุปเนื้อหาที่เรียน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)